สาขาภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านวัฒนธรรม 5 สาขา ดังนี้
1. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการเกษตร เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหา
การเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต (เช่น การแก้ไขโรคและแมลง) และรู้จักปรับใช้
เทคโนโลยี ฯลฯ

2. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร การรักษาการ
ถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมเพื่อการอนุรักษ์ เช่น การเคารพแม่น้ำ แผ่นดิน พืชพันธุ์ธัญญาหาร และโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ฯลฯ
3. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการจัดการ สวัสดิการและธุรกิจชุมชน ได้แก่
3.1 กองทุนต่าง ๆ ในชุมชน เช่น สหบาลข้าว (ธนาคารข้าว) สหกรณ์ร้านค้า
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
3.2 กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ฯลฯ
4. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการรักษาโรค และการป้องกัน เช่น หมอพื้นบ้าน หมอธรรม
และผู้รอบรู้เรื่องสมุนไพร
5. ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการผลิตและการบริโภค เช่น การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
ให้สามารถบริโภคได้โดยตรง ได้แก่ การใช้เครื่องสีมือ และครกตำข้าว การรู้จักประยุกต์เทคโนโลยี
สมัยใหม่มาใช้แปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำเข้าตลาด