ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคกลาง

ตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคกลาง มีดังนี้
3.1 การละเล่นพื้นบ้าน เป็นการละเล่นของเด็กๆ จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
( 1 ) การละเล่นที่เน้นในคุณธรรม ความอดทน ความสามัคคีในหมู่คณะ
ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ เช่น ตี่จับ ขี่ม้าส่งเมือง ชักเย่อ ซ่อนหา หมากเก็บ ฯลฯ
( 2 ) การละเล่นที่ฝึกการสังเกตและมีไหวพริบ เช่น กาฟักไข่ แข่งเรือคน
เทวดานั่งเมือง ฯลฯ
( 3 ) การละเล่นที่ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การเล่นเตย แม่งู
โพงพาง ฯลฯ
3.2 ประเพณีการรำพาข้าวสาร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นการละเล่นบทร้องที่
ใช้คำและภาษาง่ายๆ มีความไพเราะในเสียงสัมผัสของสระและอักษร สะท้อนถึงภูมิปัญญาของคนท้อง
ถิ่นในด้านต่างๆ ได้แก่
( 1 ) ความเชื่อในเรื่องกุศลผลบุญตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา การ
ทำบุญ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดกับบ้าน
( 2 ) ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจระหว่างผู้คนในท้องถิ่น สภาพชีวิตของ
ผู้คนในสังคมชนบทและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นต้น
3.3 ขนมไทย ภูมิปัญญาของคนไทยภาคกลางในการทำขนมมีมากมายหลายชนิด เช่น
ขนมที่ใช้ในงานมงคล หรือประเพณีทางศาสนา เช่น ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด และ
เม็ดขนุน ฯลฯ