ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น

ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม เป็นความรู้หรือ
เคล็ดลับในการทำสิ่งต่างๆ ดังนี้
( 1 ) การเกษตรกรรม เช่น ทำสวนมะม่วง
ให้ออกผลตลอดปี
( 2 ) งานหัตถกรรม เช่น งานจักสาน
งานแกะสลักไม้ และงานทำเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ
( 3 ) การทำอาหาร เช่น การทำอาหารแปรรูปต่างๆ การถนอมอาหารไม่ให้บูดเสีย ฯลฯ
( 4 ) ศิลปะและดนตรี เช่น การประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ฯลฯ
( 5 ) การละเล่น เช่น การเล่นม้าก้านกล้วย การเล่นว่าว การเล่นขี่ม้าส่งเมือง การเล่น
รีๆ ข้าวสาร การเดินกะลา การเล่นมอญซ่อนผ้า ฯลฯ
2. ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม เป็นความเชื่อและปรัชญาในการดำเนินชีวิต ทั้งการเกิด แก่ เจ็บ
และตาย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมหรือความสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน เช่น
( 1 ) คำสอนหรือข้อปฏิบัติสำหรับหญิงมีครรภ์ หญิงที่ผ่านการคลอดบุตรใหม่ๆ
( 2 ) คำสอนและการปฏิบัติต่อผู้มีอาวุโส คนเจ็บไข้ได้ป่วย และการเลี้ยงดูเด็กทารก เป็นต้น