การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวิธีการถ่ายทอด 2 ลักษณะ คือ
1. การถ่ายทอดให้เด็ก
( 1 ) การถ่ายทอดทางตรง โดยการอบรมสั่งสอนของพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
( 2 ) การถ่ายทอดทางอ้อม โดยการเล่านิทาน การเล่นคำทายปริศนา และการละเล่นต่างๆ
2. การถ่ายทอดให้ผู้ใหญ่
( 1 ) การถ่ายทอดทางตรง โดยบอกเล่าในขณะประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธี
บายศรีสู่ขวัญ พิธีแต่งงาน พิธีบวชทำขวัญนาค ฯลฯ หรือเผยแพร่เป็นหนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว หรือ
การประชุมของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
( 2 ) การถ่ายทอดทางอ้อม โดยการแสดงศิลปะพื้นบ้านและการละเล่นกิจกรรม
บันเทิงต่างๆ เช่น ลิเกและลำตัดในภาคกลาง มโนราห์และหนังตะลุงของภาคใต้ เป็นต้น ซึ่งจะมีเนื้อหา
และคำร้องสอดแทรกความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นและคติธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของภูมิปัญญาท้องถิ่น